วงมโหรี
วงมโหรี คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีครบทั้ง 4 ประเภท คือ ดีด สี
ตี และเป่า ซึ่งเครื่องดนตรีดังกล่าวมาจากวงปี่พาทย์ และวงเครื่องสายรวมกัน โดย
กำหนดว่าเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ทั้งเครื่องดำเนินทำนอง และเครื่องประกอบจังหวะ
บางชิ้น เช่น ระนาดเอก ฆ้องวง ฉิ่ง จะต้องย่อขนาดให้เล็กลง อีกทั้งไม้ตีทุกประเภทก็
ต้องใช้ไม้นวม ทั้งนี้เพราะต้องการให้มีเสียงนุ่มนวล และไม่ดังจนเกินไป เพราะเครื่อง -
ดนตรีจากวงเครื่องสายเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงเบา การย่อขนาด และใช้ไม้นวมตี
จะทำให้เสียงที่ดังออกมามีความไพเราะกลมกลืนเข้ากันได้ดี ในส่วนของเครื่องกำกับ
จังหวะหน้าทับในวงมโหรีจะใช้เป็น โทน - รำมะนา หรือกลองแขกก็ได้ วงมโหรีที่เป็น
มาตรฐานในปัจจุบันมีอยู่ 3 ขนาด คือ วงมโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่ และวงมโหรี
เครื่องใหญ่
ประวัติ
วงมโหรีวงเล็ก มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับจากวงมโหรีเครื่องสี่ในสมัยสุโขทัย เป็น
มโหรีเครื่องหกในสมัยอยุธยา และสันนิษฐานว่า วงมโหรีวงเล็กน่าจะได้รับการพัฒนา
ขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยการนำวงปี่พาทย์เครื่องห้ามาประสมกับวงเครื่องสาย
วงเล็ก แล้วนำซอสามสายจากวงมโหรีเครื่องหก ในสมัยอยุธยาเพิ่มเข้าไป จึงกลายเป็น
วงมโหรีวงเล็กอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้
เครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงมโหรีวงเล็ก ประกอบด้วย
|
1. ซอสามสาย
2. ซอด้วง
3. ซออู้
4. จะเข้
5. ระนาดเอกมโหรี
6. ฆ้องวงใหญ่มโหรี
7. ขลุ่ยเพียงออ
8. โทน - รำมะนา
9. ฉิ่ง
10. ฉาบเล็ก |
1
1
1
1
1
1
1
1
1
1
|
คัน
คัน
คัน
ตัว
ราง
วง
เลา
คู่
คู่
คู่ |
โอกาสในการนำวงมโหรีวงเล็กไปใช้
วงมโหรีวงเล็กนิยมบรรเลงสำหรับความบันเทิง และการขับกล่อม เช่นเดียวกับวง
เครื่องสาย และไม่นิยมบรรเลงประกอบพิธีกรรม หรือประกอบการแสดงด้วย
|